เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
4. อนนุสสุตวรรค 8. ปริญญาตสูตร

4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในธรรมทั้งหลาย เพราะ
ละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง”

ฉันทสูตรที่ 7 จบ

8. ปริญญาตสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดรู้สติปัฏฐาน

[404] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมกำหนดรู้กาย เพราะกำหนดรู้กายจึงทำอมตะให้แจ้ง
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนา
เพราะกำหนดรู้เวทนาจึงทำอมตะให้แจ้ง
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมกำหนดรู้จิต เพราะกำหนดรู้จิตจึงทำอมตะให้แจ้ง
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้ธรรม เพราะกำหนดรู้ธรรม
จึงทำอมตะให้แจ้ง”

ปริญญาตสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
4. อนนุสสุตวรรค 10. วิภังคสูตร

9. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน

[405] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
การเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย การเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล”

ภาวนาสูตรที่ 9 จบ

10. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสติปัฏฐาน

[406] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :262 }